วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

             ยินดีต้อนรับ  
 ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม บล็อกของเราครับ อาจจะมีสาระบ้างนิดหน่อยก็ไม่เป็นไรครับ
เพราะว่าเกิดจากความตั้งใจนำเสนอครับผม

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

         ความหมายของความรับผิดชอบ
      ความหมายตามรากศัพท์ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2530 หน้า 691 ให้ความหมายของความรับผิดชอบ หมายถึง อาการ ยอดตามผลที่ดีหรือไม่ดีในกิจการที่ได้กระทำไป
เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร และวรัญ ผาติธรรมรักษ์ (2540) อธิบายความหมายของความรับผิดชอบ 
หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ของตนตามภาวะที่เป็นอยู่และตรงเวลาด้วยความสุจริต ความเต็มใจ และความจริงใจ
ความรับผิดชอบ 
หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่แสดงออกถึงความเอาใจใส่จดจ่อ ตั้งใจ มุ่งมั่นต่อหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน และการเป็นอยู่ของตนเอง และ ผู้อยู่ในความดูแลตลอดจนสังคมอย่างเต็มความสามารถด้วยความผูกพัน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตาม ความมุ่งหมายในเวลาที่กำหนด ยอมรับผลการกระทำทั้งผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นรวมทั้งปรับปรุงการปฏิบัติให้ดีขึ้นด้วย 
www.chiangmaiarea1.net/nitesonline/Manual3.doc
ความรับผิดชอบ หรือ RESPONSIBILITY ดร. ริช แปลว่า 
การกระทำสิ่งที่ถูกที่ถูก พิจารณาดูจากกิจกรรมที่ ดร.ริช เขียนให้พ่อแม่เด็กก็คงหมายถึง การกระทำที่ถูกเวลา (หมายถึง กาลเทศะ) ทันเวลา ตรงต่อเวลาด้วย เป็นกิจกรรมฝึกให้รับผิดชอบต่อตัวเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคมในที่สุด เท่ากับสร้างเสริมวินัย ค่านิยมให้เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างหนึ่ง เด็กควรได้รับการฝึกให้รู้ว่า อะไรควรทำไม่ควรทำ อะไรทำให้บังเกิดความเชื่อถือ ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
www.elib-online.com/doctors48/child_respons001.html
“ การตั้งใจที่จะทำงานหรือติดตามผลงานที่ได้ทำไปแล้วเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ยอมรับในสิ่งที่ตนเองกระทำลงไปทั้งในด้านที่เป็นผลดีและผลเสีย โดยแสดงออกในรูปการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย” 
จันทรา พวงยอด (2543 : 3) ให้ความหมายของความรับผิดชอบว่า 
“ พฤติกรรมหรือการกระทำของนักเรียนที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผนของโรงเรียน”
กรมวิชาการ (2544 : 196) ให้ความหมายของความรับผิดชอบว่า “ ความสนใจตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเพียรพยายาม ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย ยอมรับผลการกระทำของตน ทั้งในด้านที่เป็นผลดีและผลเสีย ทั้งพยายาม ปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น”
โสภาพรรณ อักฌราศิวะโรจน์ (2545 : 58) ให้ความหมายของความรับผิดชอบว่า 
“ รู้จักหน้าที่และปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ยอมรับในการกระทำของตนทั้งที่เป็นผลดีและผลเสีย ไม่ปัดความผิดให้ผู้อื่น คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดจากการกระทำหรือคำพูดของตน และพร้อมที่จะปรับปรุงการกระทำให้ดีขึ้น”

                                   ความซื่อสัตย์


         ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า “ ซื่อ ” ว่าหมายถึง ตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง ส่วนคำว่า “ ซื่อตรง ” หมายถึง ความประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง และ “ ซื่อสัตย์ ” หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกหลวง หรือเราอาจจะพูดง่ายๆว่าคนที่ซื่อสัตย์ ก็คือ คนที่เป็นคนตรง ประพฤติสิ่งใดก็ด้วยน้ำใสใจจริง
ความซื่อสัตย์นั้นมีหลายอย่าง เช่น ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ต่อมิตร และความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นต้น
มีพุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ สจฺเจน กิตฺตี ปปฺโปติ ” แปลว่า “ คนเราจะบรรลุถึงเกียรติได้เพราะความสัตย์ ” นั้นก็หมายความว่า คนที่จะมีเกียรติ ย่อมต้องเป็นคนที่มีความสัตย์ซื่อ จึงจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนในสังคมได้อย่างจริงใจ โดยไม่ต้องไม่เสแสร้งแกล้งทำ
“ ความซื่อสัตย์ ” เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความรับผิดชอบ  ความรับผิดชอบ หมายถึง ภาระหรือพันธะผูกพันในการจะปฏิบัติหน้าที่การงานของผู้ร่วมงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ
เนื่องจากบุคคลต้องอยู่ร่วมกันทำงานในองค์การ จำเป็นต้องปรับลักษณะนิสัย เจตคติของบุคคลเพื่อช่วยเป็นเครื่องผลักดันให้ปฏิบัติงานตามระเบียบรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้การปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น ความรับผิดชอบจึงเป็นภาระผูกพันที่ผู้นำต้องสร้างขึ้นเพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างดี

ถ้าในองค์การใดมีบุคคลที่มีความรับผิดชอบ จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การดังนี้คือ

1.องค์การจะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้ร่วมงานและผู้อื่น
2.การปฏิบัติงานจะพบความสำเร็จทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3.ทำให้เกิดความเชื่อถือในตนเอง เพราะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเรียบร้อย
4.องค์การเกิดความมั่นคงเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้อื่น
5.องค์การประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นและมั่นคง
6.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่นทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

การอ้างอิง patcharatangrom.blogspot.com